share

ทางเลือกใหม่ในการรักษามะเร็งปอดที่ปลอดภัย

Last updated: 28 Aug 2024
15 Views
ทางเลือกใหม่ในการรักษามะเร็งปอดที่ปลอดภัย

มะเร็งปอด หนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย โดยส่วนมากผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดจะไม่ค่อยมีอาการแสดงในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคมะเร็งปอด เมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็งปอดมากขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม มะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายได้ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

มะเร็งปอดเกิดจากอะไร


มะเร็งปอดเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งสามารถตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมากและแพร่กระจายไปตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย โดยมะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) : เซลล์เจริญเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตรวดเร็ว ซึ่งพบได้ 10%-15%

 

  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) : แพร่กระจายได้ช้ากว่าและสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ โดยมะเร็งปอดชนิดนี้พบได้ประมาณ 85%-90%

 

 

ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ

ระยะที่ 1 ระยะจำกัด (Limited Stage) พบเซลล์มะเร็งอยู่ในปอด 1 ข้าง และต่อมน้ำเหลืองข้างเดียวเท่านั้น

ระยะที่ 2 ระยะลุกลาม (Extensive Stage) เซลล์มะเร็งกระจายออกนอกบริเวณช่องทรวงอกข้างนั้น หรือกระจายสู่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย


ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มี 4 ระยะ

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่พบว่ามีก้อนบางอย่างอยู่ในปอด ในระยะแรกนี้ผู้ป่วยมักไม่มีการแสดงความผิดปกติออกมา


ระยะที่ 2 พบมะเร็งปอดมีการแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด โดยในระยะที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดนำก้อนเนื้อออกจากร่างกาย


ระยะที่ 3 พบมะเร็งปอดแพร่กระจายไปที่ปอดกลีบอื่นๆ หรือลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองที่กลางช่องอก หรือไกลออกไปจากช่องอกข้างนั้นๆ


ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งปอดกระจายตัวไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง เป็นต้น

โดยทั่วไปแล้ว มะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้วมักมีอาการแสดง ที่สามารถสังเกตได้ดังนี้

  • ไอเรื้อรัง อาการไอไม่หาย หรือมีไอเป็นเวลานาน อาจมีเลือดปนในเสมหะหรืออาจเป็นเลือดออกผสมกับเสมหะ
  • หายใจเหนื่อยหอบ ผู้ป่วยอาจมีความเหนื่อยหอบ หายใจผิดปกติมากขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน
  • ปวดหน้าอก อาจมีอาการปวดหน้าอก เหมือนเมื่อมีภูมิแพ้หรือติดหวัดทำให้บางครั้งผู้ป่วยอาจคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา
  • การเสียงหายเสียงแปลก สามารถมีเสียงหายเสียง เสียงสั้น หรือเสียงที่ผิดปกติในการหายใจ
  • ลำไส้ทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องเสีย อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ หรือคลื่นไส้อาจถ่ายเป็นเลือด
  • น้ำหนักลด ผู้ป่วยอาจมีอาการลดน้ำหนักโดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน ผู้ป่วยอ่อนเพลียและมีความอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือมีอาการไม่สบายตัว

การรักษามะเร็งปอด คือ การพิจารณาตำแหน่ง ขนาด และระยะของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยการผ่าตัดมีเป้าหมายเพื่อผ่าเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด ซึ่งบางครั้งก้อนเนื้อนั้นอาจไม่ใช่เซลล์มะเร็งทั้งหมดก็ได้


โดยทั่วไปไม่ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็กซึ่งมักมีการแพร่กระจายตัวของเซลล์มะเร็งอย่างรวดเร็ว


วิธีนี้ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ในระยะที่ 1, 2 และ 3A

  • การฉายรังสี (radiotherapy)เป็นการใช้พลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็งปอดเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งปอดนั้น
    วิธีนี้ใช้ไม่ได้ผลกับระยะมะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ แต่อาจใช้เฉพาะจุดเพื่อควบคุมการลุกลาม การฉายรังสีใช้เวลาไม่นานและไม่ทำให้เจ็บปวด แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น กลืนลำบาก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี


  • การใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) เพื่อให้ภูมิคุ้มกัน ระบบการทำงานของภูมิคุ้มกัน การตรวจจับและการทำลายเซลล์มะเร็งปอดมีประสิทธิภาพ
    การให้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) เป็นการใช้ยากำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดที่มีอยู่ทั่วร่างกาย โดยทั่วไปยาเคมีบำบัดที่ใช้กับมะเร็งปอดเป็นรูปแบบยาฉีดเข้าเส้นเลือด


  • การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (targeted therapy) เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ ให้ประสิทธิผลในการรักษาและไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนเช่นยาเคมีบำบัด
    การรักษาด้วยการผสมผสาน โดยทั่วไปการรักษามะเร็งจะใช้มากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไป ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาและผลข้างเคียงของแต่ละวิธี เพื่อให้ความร่วมมือในการรักษาให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

ทางเลือกในการรักษามะเร็งปอด เพื่อให้เกิดผลข้างเคียงกับร่างกายน้อยที่สุด โดยใช้อาหารเข้ามาทานในการรักษามะเร็งปอด
เราจะเห็นได้ว่าในการรักษามะเร็งปอด ในปัจจุบันเราเริ่มใช้อาหารเข้ามาใช้ในการรักษามะเร็งปอดแล้ว เรียกว่า นูทราซูติคอล หรือโภชนบำบัด
การนำอาหารมาใช้รักษามะเร็งปอดโดยใช้สารสกัดเซซามินจากงาดำงานวิจัยที่ออกข่าวไปทั่วประเทศ
เรามาดูว่าเซซามิน สารสกัดงาดำ เข้าไปทำงานอย่างไรกับเซลล์มะเร็ง 
คลิปนี้มีคำตอบ 

 


 

 

อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่าเซลล์มะเร็ง เมื่อเริ่มแบ่งตัวขยายใหญ่ขึ้น มันจะหลั่งสารชนิดหนึ่งออกมาเพื่อกระตุ้น ให้สร้างหลอดเลือดใหม่ เพื่อดูดอาหารไปเลี้ยงก้อน มะเร็ง พร้อมกับแบ่งเซลล์ผ่านหลอดเลือดนี้ด้วยเช่นกัน เพื่อนำเซลล์มะเร็งไปกระจายไปอวัยวะอื่นๆจน มะเร็ง กระจายไปทั่วร่างกาย นี่คือกระบวนการทำงานตามปกติของมะเร็ง โรคมะเร็งจึงลุกลามอย่างรวดเร็วหากไม่มีสิ่งใดไปยับยั้งขัดขวาง ในที่สุดมันก็ฆ่าชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งได้สำเร็จ

เราได้ทดลองนำสารที่เซลล์มะเร็งผลิตขึ้น ฉีดเข้าไปในไข่ที่ฝากตัวอ่อนของเซลล์มะเร็งอายุหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งเหมือนสิ่งมีชีวิตพบว่า มีการสร้างเส้นเลือดขึ้นมามากมาย และเมื่อฉีดสารเซซามิน (Sesamin) ตามเข้าไปเราจึงพบความลับของ เซซามิน (Sesamin) สารสกัดงาดำ ที่ใช้ต่อสู้กับเซลล์มะเร็งปอด



 จากงานวิจัยของ ศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ จากการทดสอบในห้องแลป

การทดลองของเราได้แสดงให้เห็นผลงานอันน่าทึ่งของสารเซซามิน (Sesamin) ในการรักษามะเร็งปอด เพราะเมื่อเราฉีดสารสกัดเซซามิน (Sesamin) จากงาดำ เข้าไปเราก็จะพบว่าความแตกต่างกันชัดเจนเลย ว่าหลอดเลือดใหม่ที่ถูกเซลล์มะเร็งกระตุ้นให้สร้างขึ้นลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ แปลว่าเซซามิน (Sesamin) เข้าไปช่วยยับยั้งการเกิดหลอดเลือดใหม่ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยสารซึ่งหลั่งออกมาจากเซลล์มะเร็ง

เมื่อสารเซซามิน (Sesamin) ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งปอด สร้างหลอดเลือดใหม่ผลลัพธ์ก็คือเซลล์มะเร็งปอดไม่สามารถดูดอาหารได้จนต้องฝ่อไปเอง และถูกร่างกายกำจัดไปในที่สุด

 

 

หมอที่เก่งที่สุดในโลก คือร่างกายมนุษย์

หมอที่เก่งที่สุดในร่างกายมนุษย์ คือ ภูมิคุ้มกัน"

สรุป สารสกัดเซซามิน (Sesamin) เข้าไปทำอะไรกับเซลล์มะเร็ง

เซลล์มะเร็ง คือเซลล์ที่อยู่ในร่างกายเรา ที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว หลังจากที่เซลล์มะเร็ง มีการกระจายตัว มันสามารถส่งสารไปกระตุ้นให้เส้นเลือดงอกเส้นเลือดมาที่ตัวก้อนมะเร็ง แล้วส่งอาหาร จากทางเส้นเลือดเพื่อไปเลี้ยงก้อน มะเร็ง จากการศึกษา ในหลอดทดลองจากห้องแลป เซซามิน (Sesamin) สารสกัดงาดำ ไปปิดกั้นการสร้างเส้นเลือดใหม่ ที่จะไปหล่อเลี้ยงเซลล์ มะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งไม่ได้รับอาหาร

2. เซซามิน (Sesamin) สารสกัดงาดำ ไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง IL2 ( ซึ่งสาร IL2 ตัวนี้ สหรัฐอเมริกายอมรับว่าเป็นสารที่สามารถไปฆ่าเซลล์มะเร็งได้  ซึ่งสาร IL2 นี้แหละที่จะทำให้เม็ดเลือดขาวหรือภูมิคุ้มกันของเราทำงานได้ดีขึ้นและไปจัดการกับเซลล์มะเร็ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไปกระตุ้นบนผิวเซลล์ แล้วส่งสัญญาณเข้าไปภายในเซลล์มะเร็ง มันถูกยับยั้งโดยสารเซซามิน (Sesamin) สารสกัดงาดำ เป็นการอธิบายถึงกลไกภายในเซลล์วิจัยถึงระดับโมเลกุล

3. เซซามิน (Sesamin) สารสกัดงาดำ ยังไปทำให้เซลล์มะเร็งตาย เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายถูกโปรแกรมมาให้เกิดขึ้นและ มีอายุ แล้วก็จะตายไป ยกเว้นเซลล์มะเร็ง ที่มันสามารถ มีอายุและเจริญเติบโตขยายตัวได้โดยไม่มีการตายหรือไม่เข้าสู่ Program Cell Death เซซามิน (Sesamin) สารสกัดงาดำ สามารถไปแก้โปรแกรมให้เซลล์มะเร็ง เข้าสู่ Program Cell Death หรือเซลล์มะเร็งเข้าสู่ภาวะฆ่าตัวตาย


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy